วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การศึกษาดูงานและสังเกตพฤติกรรม
การจัดประสบการณ์ศึกษาแบบเรียนรวมของเด็กปฐมวัย
รีพิ
วันอังคาร ที่21 กุมภาพันธ์ 2560
เวลา08.00-13.00.

คำขวัญแผนกอนุบาล
"โรงเรียนแสนสนุก
บุคลากรมีคุณภาพ
เน้นการประสานสัมพันธ์"

          เมื่อมาถึงโรงเรียนเกษมพิทยา คุณครูให้นักศึกษาจดบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก จากที่ได้ตกลงในการแบ่งการรับผิดชอบไว้แล้ว ซึ่งเป็นเด็กพิเศษ เมื่อเสร็จกิจกรรมหน้าเสาธงคุณครูจะให้นักศึกษานำเสนอผลการสังเกต เวลา08.15น. เด็กๆเข้าแถวเคารพธงชาติ ที่สนามหน้าเสาธงของแผนกอนุบาล จากนั้นคุณครูให้เด็กๆออกมาพูดเกี่ยวกับการทำความดีของตนเองวันนี้ โดยหมุนเวียนวันละห้องเรียน ซึ่งวันนี้เป็นน้องๆอนุบาล1 จากนั้นคุณครูให้เด็กๆออกมาเต้นประกอบเพลงด้วยท่าตามจินตนาการ ซึ่งออกมาทีละชั้น และต้องออกทุกชั้น ทุกห้องในวันนั้น ซึ่งเด็กๆทุกคนแสดงออกได้ดีมาก จากนั้นทางคุณครูก็ได้ขอตัวแทนจากนักศึกษามาแสดงเต้นประกอบเพลง ให้น้องๆได้ทำตามอย่างสนุกสนาน 
         เมื่อแล้วเสร็จจากกิจกรรมหน้าเสาธงคุณครูก็ได้ให้นักศึกษาทุกคนเข้าห้องอบรมเพื่อให้การกล่าวต้อนรับอย่างเป็นทางการ จากนั้นคุณครูก็ได้ขอตัวแทนนักศึกษาที่มอบหมายให้สังเกตพฤติกรรมเด็ก มาห้องละ1คน จากที่เพื่อนๆได้นเสนอมานั้น ส่วนมากเด็กๆที่เป็นเด็กพิเศษที่นี่จะเป็นออทิสติก บางคนเป็นไม่รุนแรง สื่อสารกับคนอืนได้ แต่บางคนก็เป็นรุนแรง ไม่สามารสื่อสารกับคนอื่นได้ แต่สามารถทกิจวัตรประจำวันได้ แต่ละคนก็มีความแตกต่างกัน 
         เมื่อนำเสนอการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างคร่าวๆไปแล้ว คุณครูก็ได้ให้นักศึกษาเข้าสังเกตรูปแบบการเรียนการสอนการเรียนรวมในแต่ละห้องแผนกอนุบาล และจดบันทึกข้อมูล รายละเอียด หรือสิ่งที่ผิดปกติที่เกี่ยวกับตัวเด็กที่เราสังเกต เพื่อเป็นการศึกษาว่าแต่ละความผิดปกตินั้นเป็นอย่างไร มีวิธีดูแลอย่างไร และศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนของคุณครูและเด็กๆ

"น้องไฮเตอร์" (ออทิสติก) อ.2/1
     ด้านร่างกาย
-ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวได้ ทำกิจวัตรประจำวันได้โดยมีครูช่วยเหลือ
    ด้านอารมณ์
-ถ้าวันไหนอารมณ์ดีแต่เช้า ก็จะดีทั้งวัน ถ้าอารมณ์ไม่ดีแต่เช้า ก็จะหงุดหงิดทั้งวัน
-ถ้าปิดพัดลมจะโวยวาย
     ด้านสังคม
-ไม่เข้าหาเพื่อน แต่สามารถทำกิจกรรมเหมือนเพื่อนได้ โดยมีครูช่วยเหลือ
     ด้านสติปัญญา
-อายุ7ขวบ มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน3เท่า 
-เข้าใจคำสั่ง แต่หากสั่งพร้อมกันหลายอย่างจะทำไม่ได้
-สามารถทำงานศิลปะได้โดยมีครู่วยเหลือ
-บอกสีได้(บางครั้ง)
-กิจกรรมประจำวัน ต้องเหมือนเดิมทุกขั้นตอน ห้ามสลับสับเปลี่ยน เพราะน้องจะหงุดหงิดและโมโห
-ชอบมองสิ่งที่หมุน เช่นพัดลม (ห้ามปิด)
     ด้านภาษา
-จะพูดเมื่อารมณ์ดีมากๆ แต่ไม่เป็นคำ อยู่ดีดีก็พูดขึ้นมา แล้วต่อารมณ์
-บอกความในใจ บอกความรู้สึกไม่ได้

       เมื่อสังเกตพฤติกรรมและสอบถามข้อมูลกับคุณครูประจำชั้นแล้ว ก็ได้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเด็กอย่างชัดเจน ทำให้เราได้เตรียมควมพร้อมในการดูแลเด็กเมื่อเรียนหรือทำกิจกรรมกับเพื่อนๆในห้อง เพื่อที่จะไม่กระทบต่อเด็กคนอื่นๆ และทำให้ผู้ปกครองไม่คิดในแง่ลบ 
         จากนั้นเข้าห้องอบรมเพื่อรับฟังการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับ Project Approach และสารนิทัศน์จากคุณครูนก เพื่อเป็นความรู้ที่ทำให้เราสามารถนำไปเรียนรู้ พัฒนาการเรียนการสอนในวิชาชีพต่อไป

Project Approach
การศึกษาอย่างละเอียด ลึก ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
-เด็กทั้งห้อง
-เด็กกลุ่มเล็ก
-รายบุคคล
ขั้นตอนการสอนแบ่งออกเป็น 5ลักษณะ 3ระยะ
1.อภิปรายกลุ่ม
2.การทำงานภาคสนาม
3.การนเสนอประสบการณ์เดิม
4.การสืบค้น
5.การจัดแสดง
ระยะที่1 เริ่มต้น
-เสนอชื่อเรื่อง
-เล่าประสบการณ์เดิม
-วาดรูปประสบการณ์เดิม
-ตั้งคำถาม
ระยะที่2 
-เด็กเริ่มค้นหาคำตอบ
-ทำงานภาคสนาม
ระยะที่3
-จัดแสดงนิทรรศการ

ประเภทของสารนิทัศน์
1.การบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับ
2.พอร์ตโฟลิโอ
3.การสังเกตและบันทึกพัฒนาการเด็ก
4.การสะท้อนตนเองของเด็ก/ครู/ผู้ปกครอง
5.ตัวอย่างผลงานเด็กรายบุคคลและกลุ่ม


วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่4
วัพุที่8 กุพัธ์ 2560
รี 08.30-12.30น.
เนื้อหาการเรียน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ L.D. (learning disability)
สาเหตุ
-กรรมพันธ์
-ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัส
-ส่วนใหญ่เกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง2เท่า
1.ด้านการอ่าน
-อ่านช้า ต้องสะกดทีละคำ
-อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด
-ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่านหรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะ
อ่านช้า อ่านคำต่อคำ อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
เช่น                                หาว               ----->             หา/หาม
                                      ง่วง                ----->             ม่วม/ม่ง/ง่ง
                                      เลย                ----->             เล
2.ด้านการเขียน
-เขียนตัวหนังสือผิด
-สับสนการม้วนหัวอักษร
-เขียนสลับ
ลักษณะ
ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนเข้าในหรือออกนอก เรียงลำดับอักษรผิด เขียนพยัญชะสลับ กลับด้าน
เช่น                             ปาลแผล            ----->           บาดแผล
                                   เมระบาล            ----->            รัฐบาล
                                   ผีเสื้อมดุร           ----->            ผีเสื้อสมุทร
3.ด้านการคิดคำนวณ
-เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
-ตัวเลขผิดลำดับ
-แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ลักษณะ
ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้ ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
4.หลายๆด้านรวมกัน
อาการร่วม
แยกแยะขนาด สี รูปร่าง ไม่ออก มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา ฟังคสั่งสับสน ความจำสั้น


ออทิสติก (Autistic)
-ไม่สามารมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
-ไม่สามารถเข้าใจคำพูดความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
-แต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
-ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว
การวัดทักษะ
                                 ทักษะภาษา                                                      ----->   ต่ำ
                                 ทักษะสังคม                                                      ----->   ต่ำ
                                 ทักษะการเคลื่อนไหว                                        ----->   สูง
                                 ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่   ----->   สูง
ลักษณะ
อยู่ในโลกของตนเอง ไม่เข้าหาใครเพื่อให้ปลอบใจ ไม่ยอมพูด เคลื่อนไหวซ้ำๆ
                                 ดูหน้าแม่                ----->       ไม่มองตา
                                 หันไปตามเสียง      ----->       เหมือนหูหนวก
                                 จำหน้าแม่ได้          ----->       จำคนไม่ได้

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย2ข้อ
-ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
-ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคลให้เหมาะสมตามวัย
-ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจความสนุกกับผู้อื่น
-ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย1ข้อ
-มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
-ในรายที่สามารถพูดได้แล้ว แต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบ
-พูดซ้ำๆหรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างเหมาะสม
-ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

มีพฤติกรรม ความน่าสนใจ และสนใจและกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย1ข้อ
-มีความสนใจซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
-มีกิจวัตรประจำวันหรือกฏเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ 
-มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ
-สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

ออทิสติกเทียม
สาเหตุ
-ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ
-ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพด
-ดูการ์ตูนในทีวี

สิ่งที่ได้รับ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทมีลักษณะอาการแตกต่างกันจึงต้องได้รับการดูแลใกล้ชิด

ประเมินตนเอง
ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอนหรือบรรยาย

ประเมินเพื่อน
ตั้งใจฟังอาจารย์ไม่คุยกันขณะที่อยู่ในห้องแต่งกายเรียบร้อยเข้าเรียน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการนำเสนอการสอนนักศึกษาน่าสนใจและมีคลิปวิดิโอประกอบการสอน