วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

บัทึลัรีรั้ที่ 7
วัพุ ที่22 มี 2560
รี08.30-12.30.
เนื้อหาการเรียน
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
   -เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
   -ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
   -เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
   -เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
   -เกิดผลดีในระยะยาว
   -เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
   -แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program; IEP)
   -โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
   -การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน  (Activity of Daily Living Training)
   -การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
   -การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
   -สื่อความหมายทดแทน (AAC)
   -ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
   -ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
   -การฝังเข็ม (Acupuncture)
   -การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
   -การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
   -โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
   -เครื่องโอภา (Communication Devices)
   -โปรแกรมปราศรัย
   -Picture Exchange Communication System (PECS)



บทบาทของครู
   -ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
   -ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
   -จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
   -ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
1. ทักษะทางสังคม
   -เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
   -การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น
   -การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
   -เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
   -ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
   -เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
   -ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
   -จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
   -ครูจดบันทึก
   -ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
   -วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
   -คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
   -ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
   -เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
   -อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
   -ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
   -ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
   -เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
   -ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
   -ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
   -ทำโดย การพูดนำของครู

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
   -ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
   -การให้โอกาสเด็ก
   -เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
   -ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
   -เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
   -ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
   -ถามหาสิ่งต่างๆไหม
   -บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
   -ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
   -การพูดตกหล่น
   -การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
   -ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
   -ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
   -ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด
   -อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
   -อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
   -ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
   -เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
   -ทักษะการรับรู้ภาษา
   -การแสดงออกทางภาษา
   -การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
   -การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
   -ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
   -ให้เวลาเด็กได้พูด
   -คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
   -เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
   -เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว

การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)
3. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง
   -เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
   -การกินอยู่
   -การเข้าห้องน้ำ
   -การแต่งตัว
   -กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

การสร้างความอิสระ
   -เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
   -อยากทำงานตามความสามารถ
   -เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
   -การได้ทำด้วยตนเอง
   -เชื่อมั่นในตนเอง
   -เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
   -ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
   -ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
   -ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
   -“ หนูทำช้า   หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเมื่อไหร่
   -เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
   -หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
   -เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
   -มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
   -แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
   -เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
   -เข้าไปในห้องส้วม
   -ดึงกางเกงลงมา
   -ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
   -ปัสสาวะหรืออุจจาระ
   -ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
   -ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
   -กดชักโครกหรือตักน้ำราด
   -ดึงกางเกงขึ้น
   -ล้างมือ
   -เช็ดมือ
   -เดินออกจากห้องส้วม

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
   -การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
   -มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
   -เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
   -พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
   -อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
   -ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
   -จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
   -เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
   -เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
   -คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
   -การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
   -ต่อบล็อก
   -ศิลปะ
   -มุมบ้าน
   -ช่วยเหลือตนเอง

ความจำ
   -จากการสนทนา
   -เมื่อเช้าหนูทานอะไร
   -แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
   -จำตัวละครในนิทาน
   -จำชื่อครู เพื่อน
   -เล่นเกมทายของที่หายไป

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
   -จัดกลุ่มเด็ก
   -เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
   -ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
   -ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
   -ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
   -ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
   -บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด

สิ่งที่ได้รับ
การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษเป็นการช่วยให้เขาช่วยเหลือและพัฒนาตนเองได้ โดยเริ่มจากสิ่งง่ายๆ เพื่อให้เขาได้พัฒนาไปทีละขั้น

ประเมินตนเอง
แต่งกายเรียบร้อย ไม่คุยกับเพื่อนขณะที่อาจารย์กำลังสอน ให้ความร่วมมือการเรียนเป็นอย่างดี

ประเมินเพื่อน
แต่งกายเรียบร้อยตามระเบียบ ให้ความร่วมมืออาจารย์ในการสอน นั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ยกตัวอย่างในการสอนอย่างชัดเจนให้นักศึกษาได้เข้าใจ และมีเนื้อหาการสอนอย่างดี


วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

บัทึลัรีรั้ที่ 6
วัพุ ที่15 มี 2560
รี08.30-12.30.
เนื้อหาการเรียน
     การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  รูปแบบการจัดการศึกษา
-การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
-การศึกษาพิเศษ (Special Education)
-การศึกษาแบบเรียนร่วม  (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การศึกษาแบบเรียนรวม  (Inclusive Education)

     การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา

     ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม(Integrated Education หรือ Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
-มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
-ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
-ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน         

     การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
-เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
-เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้

     การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
-การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
-เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
-มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
-เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

     ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
-การศึกษาสำหรับทุกคน
-รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
-จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล

     Wilson , 2007
-การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
-การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
-กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
-เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง

"Inclusive Education is Education for all, 
It involves receiving people 
at the beginning of their education, 
with provision of additional services 
needed by each individual"


     ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
-ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้
-“สอนได้
-เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด

     บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
   ครูไม่ควรวินิจฉัย
-การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

   ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ

   ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา

   ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

   สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

   การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
-บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

   ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป

   การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่ายๆ
นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

-การบันทึกต่อเนื่อง
ให้รายละเอียดได้มาก
เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
บันทึกลงบัตรเล็กๆ
เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง

   พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
   การตัดสินใจ
-ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่

 สิ่งที่ได้รับ
 เด็กพิเศษต้องการได้รับโอกาสและการพัฒนาในทุกๆด้านเช่นเดียวกันกับเด็กปกติทั่วไป

ประเมินตนเอง
ตั้งใจฟังอาจารย์สอน แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ และไม่เสียงดังในขณะเรียน

ประเมินเพื่อน
ทุกคนนั่งเรียนอย่างเรียบร้อยตั้งใจในการเรียน และให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
มีรูปแบบเทคนิควิธีการสอนที่น่าสนใจ มีคลิปที่ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจเด็กพิเศษมากขึ้น